หลวงพ่อทองหยิบ ปชฺโชโต ตะกรุดมหาอุตม์ มหารูดใหญ่ ( ๒ กษัตริย์ )วัดบ้านกลาง
"หลวงพ่อทองหยิบ ปชฺโชโต" พระเกจิจอมขมังเวทย์ เจ้าตำรับตะกรุดโทนอันลือลั่น สุดยอดคงกระพัน
ฉายา ตะกรุดสร้างวัด "หลวงพ่อทองหยิบ วัดบ้านกลาง" ไม่เป็นสองรองใคร
ตะกรุดโทนของท่าน มีอานุภาพในทางคุ้มครองป้องกัน อยู่ยงคงกระพัน ติดตัวไว้ รับประกันมีดปืนไม่ได้กิน
มีประสบการณ์มาแล้วมากมาย ตะกรุดของท่านจะลงเองทุกดอก ชนิดจารเอง ม้วนเอง ถักและปลุกเสกเอง
ตะกรุดของหลวงพ่อทองหยิบ นั้นเหนียวจนได้ชื่อว่า เหนียวชนิดแมลงไม่มีวันได้กินเลือด ตะกรุดแต่ละรุ่น
ไม่เคยเพียงพอต่อความต้องการของลูกศิษย์ หลวงพ่อได้รับการถ่ายทอดพระเวทย์จากโยมเจียม ซึ่งเป็นโยมบิดา
สายพระเวทย์ทางเพชรบุรี หลวงพ่อทองหยิบ ได้อาศัยพระเวทย์วิทยาคม ที่ได้รับการถ่ายทอดจากโยมบิดา
สงเคราะห์ญาติโยม และ สร้างความเจริญให้แก่วัดบ้านกลาง โดยสร้างพระอุโบสถหลังใหม่ ฝังลูกนิมิตเมื่อปี ๒๕๕๑
ใช้เวลาการสร้าง ๒ ปี งบประมาณ ๘ ล้านบาท
หลวงพ่อทองหยิบ ท่านเป็นพระสมถะ มีเมตตาต่อลูกศิษย์ที่เคยไปกราบท่าน ท่านจะสงเคราะห์ลูกศิษย์ ไม่เลือกชั้นวรรณะ
ซึ่งน้ำมนต์ของท่าน มีความขลังศักดิ์สิทธิ์ พลิกดวงชะตาร้ายให้กลายเป็นดี
หลวงพ่อทองหยิบ ปชฺโชโต ได้มรณภาพอย่างสงบ วันที่ ๑๓ เมษายน ๒๕๕๙ เวลา ๑๓.๓๕ น. อายุ ๘๘ ปี
ข้อมูลจากGoogle.com
ตะกรุดมหาอุตม์วัดบ้านกลาง
ตะกรุดโทนมหาอุตม์หรือตะกรุดมหารูดใหญ่ ลักษณะเป็นตะกรุด 2 กษัตริย์ หรือ ใช้โลหะ ๒ ชนิดม้วนเข้าด้วยกัน
คือ มีแผ่นทองแดงเป็นแกนม้วนอยู่ด้านใน แผ่นตะกั่วม้วนอยู่ด้านนอก โดยท่านจะจารแผ่นโลหะเต็มทั้ง ๒ ด้าน
แผ่นตะกั่ว (มีทั้งหนาและบาง) ด้านในลงเป็น "ยันต์มหารูด" ด้านนอกลงอักขระคาถา "อิติปิโสแปดทิศ, มงกุฎพระพุทธเจ้า
และ อะนะทัสนะ " ล้อมรอบวนเข้าตรงกลาง
แผ่นทองแดง ม้อนด้านในลง "ยันต์มหาอุด" ด้านนอกลงด้วย "พระเจ้าห้าพระองค์(ซ้อนกัน)" ล้อมด้วยอักขระ
ตะกรุดของท่าน มีเอกลักษณ์ด้วยลักษณะการม้วน การถักเชือกและการจาร
๑.ตะกั่วล้วน ๒.ตะกั่วใส้ทองแดง(มาตรฐานพบเห็นมากที่สุด)๓.ตะกั่วใส้ทองเหลือง
๔.ตะกั่วใส้ทองเหลือง, ทองแดง (๓กษัตริย์) ๕.ตะกั่วใส้ทองแดง, เงิน (๓กษัตริย์)๖.ตะกั่วใส้หนังเสือ
๗.ตะกั่วใส้ทองแดงหนังเสือ
ตะกรุด มีความยาวหลายขนาด ตั้งแต่ขนาด ๓ นิ้ว กระทั่งยาวที่สุด ๖ นิ้วกว่าๆ ส่วนรอบการม้วนนั้นไม่แน่นอน
ท่านจะเป็นผู้ลงอักขระเองทุกดอก การถักนั้นมีผู้ถักหลายคน แต่ตะกรุดเกือบทุกดอกนั้น จะมีลักษณะการถัก
ตลอดจนขนาด และชนิดเชือกที่ใช้ถัก เหมือนๆกันเป็นเอกลักษณ์ของวัดบ้านกลาง หัวท้ายมีรอยตะไบ
ท่านสร้างตะกรุดครั้งแรก ในช่วงปี ๒๕๐๐ ร้อยเชือกคาด มีเอกลักณ์ของวัดบ้านกลาง ให้บูชาดอกละ ๑๐๐ บาทเท่านั้น
โดยท่านจะลงตะกรุดไปเรื่อยๆ และเสกในพรรษา ก่อนที่จะออกให้บูชาในแต่ละปี
ขอขอบพระคุณพี่สมศักดิ์อย่างสูง